วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การควบคุมและพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์

การควบคุมและพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
ดร.สงบ สิทธิเดช

1. มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1540 (2004)
   จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 (2001) หรือ 9/11 เป็นเหตุการณ์วินาศกรรมของการปล้นเครื่องบินในสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องบินพาณิชย์[1] ได้ชนเข้ากับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และอาคารเพนตากอน[2] หลังเหตุการณ์ดังกล่าว 3 ปีต่อมา คณะมนตรีความมั่นแห่งสหประชาชาติ ได้มีมติที่ 1540 (United Nations Security Council resolution 1540: UNSCR 1540) เมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 (2004) ว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธทีมีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction: WMD)[3]
   โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติดำเนินการ ดังนี้
   (1) งดเว้นให้การสนับสนุนบุคคลหรือคณะบุคคลที่มิใช่รัฐ (non-State actors) ในความพยายามที่จะพัฒนา ผลิต จัดหาให้ได้มา ผลิต ครอบครอง ขนส่ง โอน หรือใช้อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ และเครื่องส่ง
   (2) ให้ออกกฎหมายห้าม non-State actors ผลิต จัดหาให้ได้มา ครอบครอง พัฒนา ขนส่ง โอน หรือใช้ WMD และเครื่องส่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการก่อการร้าย รวมถึงความพยายามที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมข้างต้น ไม่ว่าจะในฐานะผู้กระทำให้สำเร็จผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือผู้สนับสนุนทางการเงิน และให้มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
   (3) ให้ออกกฎหมายและกฎระเบียบควบคุม WMD เครื่องส่ง และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการรักษาความมั่นคงของวัสดุที่เกี่ยวข้องกับ WMD การควบคุมชายแดน การป้องกันการลักลอบค้าอย่างผิดกฎหมายและกิจกรรมนายหน้าค้าอาวุธและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การควบคุมการส่งออก การส่งผ่าน การถ่ายลำ การส่งออกกลับไปอีกครั้ง การควบคุมเงินทุนและบริการที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและถ่ายลำดังกล่าว รวมทั้งจัดตั้งระบบควบคุมผู้ใช้สุดท้าย ตลอดจนบังคับใช้บทลงโทษทางแพ่งและอาญาที่เหมาะสมต่อผู้ที่ละเมิดกฎหมายและกฎระเบียบเรื่องการควบคุมการส่งออก
   (4) ให้เสนอรายงานฉบับแรกของตนเกี่ยวกับขั้นตอนที่ได้ดำเนินการ หรือ ตั้งใจที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามข้อมตินี้ต่อคณะกรรมการของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ข้อมตินี้ได้รับความเห็นชอบ
   UNSCR ที่ 1540 (2004) มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ WMD เครื่องส่ง และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องตกไปอยู่ในมือของกลุ่มผู้ก่อการร้าย และเป็นความพยายามของสหประชาชาติ ที่จะปิดช่องโหว่ของความตกลงระหว่างประเทศด้านการลดและแพร่ขยาย WMD ที่มีอยู่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพการเมืองระหว่างประเทศปัจจุบันที่มี non-State actors เป็นตัวแปรสำคัญ และยังไม่มีความตกลงระหว่างประเทศใดๆ ที่ครอบคลุมการควบคุมการส่งออกวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ WMD และเครื่องส่งอย่างมีประสิทธิภาพ
   สำหรับประเทศไทย 6 ปีต่อมา ได้มี มติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 (2010) เรื่อง การบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง เห็นชอบให้ประเทศไทยมีระบบบริหารการนำเข้า - ส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (สินค้า และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งทางพาณิชย์ หรือทางสงคราม)[4] และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำระบบบริหารการนำเข้า - ส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง โดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และจัดทำบัญชีรายการสินค้าที่ใช้ได้สองทาง โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้คำนึงถึงถึงความจำเป็นเหมาะสมในการกำหนดระบบมาตรฐานสากลทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุนของประเทศ ซึ่งขณะนี้ (ก.พ.56) กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการออกระเบียบควบคุมดังกล่าวอยู๋
   หากมาดูกลุ่มประเทศใน AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ที่มีระบบควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางอยู่แล้ว พบว่า สิงคโปร์มีเมื่อ 2550 มาเลเซียมีเมื่อ 2553 ส่วเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและไทย อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งสิ้น

2. กฎระเบียบระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ WMD – ในกรอบพหุภาคี 

   อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมี มติคณะมนตรีความมั่นแห่งสหประชาชาติที่ 1540 (UNSCR 1540) ดังกล่าว ได้มีการรวมกลุ่มในประเทศต่างๆ เพื่อที่จะควบคุม WMD และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง dual-use และกำหนดมาตรการควบคุมสินค้าดังกล่าวอย่างเข้มงวดในเรื่องการออกใบอนุญาต (license) การรับรองการใช้หรือผู้ใช้ปลายทาง (end-use/end-users) การตรวจสอบปลายทางหลังการส่งออก (verification) และมาตรการสอบสวนและบทลงโทษ (investigation mechanism and penalties) ทั้งนี้รวมถึง การควบคุมการส่งผ่าน (transit) การถ่ายลำ (transshipment) และการส่งออกไปใหม่ (re-export) ด้วย
   1. กลุ่มผู้จัดหานิวเคลียร์ - Nuclear Supplier Group (NSG) เริ่มปี 1975 มีสมาชิกจำนวน 46 ประเทศ ควบคุมวัสดุนิวเคลียร์ และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
   2. กลุ่มออสเตรเลีย - Australia Group (AG) เริ่มปี 1985 สมาชิกจำนวน 41 ประเทศ ควบคุมสารเคมี สารชีวภาพ วัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพได้ และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
   3. กรอบระเบียบการควบคุมเทคโนโลยีขีปนาวุธ - Missile Technology Control Regime (MTCR) เริ่มปี 1987 สมาชิกจำนวน 34 ประเทศ ควบคุมวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีชั้นสูงที่ใช้ผลิตขีปนาวุธ
   4. การจัดการวาเซนน่าร์ - Wassenaar Arrangement (WA) เริ่มปี 1994 สมาชิกจำนวน 43 ประเทศ ควบคุมวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ที่สามารถนำไปใช้ผลิตอาวุธตามแบบที่ร้ายแรง และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
   5. ข้อบังคับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปที่ 428/2009 ฉบับแก้ไข (Council Regulation (EC) No. 428/2009) เริ่มปี 1951 สมาชิกจำนวน 27 ประเทศ ควบคุมด้านนิวเคลียร์ และสินค้าสองทางรวมถึงชอฟแวร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเทคนิคและวิธีการใช้เทคโนโลยี

3. เครื่องมือไบโอชีวภาพ (Biological Equipment) ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้สองทาง
   เครื่องมือไบโอชีวภาพ (Biological Equipment) ที่ใช้ได้ 2 ทาง จำนวน 8 ประเภท รวมทั้งอาวุธไบโอชีวภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอีกด้วย จะถูกควบคุมหากมีการนำเข้าหรือส่งออกในกลุ่มออสเตรเลีย (Australia Group: AG) เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, USA เป็นต้น[5] และกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union: EU)[6]
(1) เครื่องเก็บเชื้อครบชุด ที่มีระดับการเก็บเชื้ออยู่ที่ P3 หรือ P4 
(2) เครื่องหมักเชื้อ (Fermenters) 
(3) เครื่องแยกแรงเหวี่ยง (Centrifugal separators) 
(4) เครื่องกรองของไหลแบบตามขวาง (tangential) 
(5) เครื่องทำแห้งเยือกแข็ง (Freeze-drying equipment) 
(6) เครื่องป้องกันและเก็บเชื้อ (Protective and containment equipment) 
(7) ตู้สูดดมสารเพื่อหาการแพร่กระจายในอากาศที่มีจุลชีวภาพหรือสารพิษ (Aerosol inhalation chambers) 
(8) ระบบสเปรย์หรือหมอก และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ


4. การควบคุมตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 
   เนื่องจากกฎหมายศุลกากรเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆ ทุกฉบับที่มีการควบคุมการนำเข้าหรือส่งออก จะเห็นได้จาก 
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 - ม.40,45 ก่อนการนำของเข้า/ส่งออกต้องปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในที่นี้ พ.ร.บ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 กำหนดไว้ว่า ม.5 ห้ามมิให้ผู้ใด...นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน (นำหรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมีการขนถ่ายหรือเปลี่ยนพาหนะ) ซึ่งเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี 
   ฉะนั้น สาระสำคัญของการควบคุม ก่อนการนำเข้า (Import) ส่งออก (Export) ถ่ายลำ (Transhipment) ผ่านแดน (Transit) เชื้อโรคในคนและพิษจากสัตว์ จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เสียก่อน

5. การปฏิบัติพิธีการศุลกากรที่เกี่ยวกับการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
   2.1 ก่อนการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน (ถ่ายลำ/ผ่านแดน) เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ต้องขออนุญาตกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
   2.2 กรณีที่ยังไม่ได้เป็นระบบการให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว หรือ National Single Window (NSW) เมื่อผ่านพิธีการศุลกากรในระบบ e-Import / e-Export นอกจากจะระบุหมายเลขใบอนุญาตในระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังจะต้องยื่นเอกสารใบอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบก่อนการรับของออกจากโรงพักสินค้า หรือภายใน 15 วันนับ

   แต่วันที่ตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า แต่ถ้ากรณีที่เป็นระบบการให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (NSW) ก็ไม่ต้องยื่นเอกสารดังกล่าวให้ศุลกากรอีกอีก 6. การเตรียมการของศุลกากรไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ปี 2558 (2015)[7] 
   กรมศุลกากรได้มีแผนงาน/โครงการต่าง ๆ ในปี 2555-2556 ดังนี้
(1) การนำร่องการแลกเปลี่ยนข้อมูล ASEAN Customs Declaration Document ปี 55 
(2) การพัฒนาระบบขนส่งผ่านแดนและการลงนามให้สัตยาบันพิธีการฉบับที่ 2 และ 7 ปี 55-56 
(3) การจัดตั้งการให้บริการระบบ National Single Window (NSW) ของประเทศ ปี 55 
(4) การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC ปี 55 - 56 
(5) การควบคุมสินค้าผ่านแดนด้วยระบบ RFID และ GPS ปี 2556 
(6) การนำระบบตรวจสอบตู้ฯ ด้วยเครื่อง X-ray มาใช้ในการตรวจสอบสินค้าผ่านแดน 
(7) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบโทรทัศน์วงจรปิด CCTV System ระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการตรวจสอบสินค้าผ่านแดน ฯลฯ


7. Thailand National Single Window รองรับ AEC ที่ดำเนินการแล้ว    ระบบ NSW ซึ่งเป็นระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลของประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการค้า เช่น ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทนออกของ ผู้ประกอบการขนส่ง และธนาคาร เป็นต้น สามารถส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้อง บันทึกขอมูลที่ซ้ำซ้อนกัน ลดความผิดพลาด และลดการทางานที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่ม ทำให้ลดต้นทุนด้านการบริหาร การจัดการ และการใช้ทรัพยากรต่างๆ ส่งผลให้ภาพรวมของการประกอบการค้า มีความสะดวก รวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น 
   สำหรับบริการหลักๆ ที่พร้อมให้บริการแล้ว ณ กุมภาพันธ์ 2556 ได้แก่
   1. ระบบการขอและออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ ของกรมอุตสาหกรรมทหาร กรมศิลปากร สานักงาน ปรมาณูเพื่อสันติ และกรมการปกครอง 
   2. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตและใบรับรองระหว่าง 36 ส่วนราชการ โดยมี 12 ส่วนราชการ ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลเป็นทางการแล้ว ประกอบด้วย กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมปศุสัตว์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมสรรพสามิต สานกงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมประมง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมศิลปากร และกรมธุรกิจพลังงาน และยังมีอก 8 ส่วนราชการอยู่ในระหว่างทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูล
   3. ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมศุลกากรและผู้ประกอบการนำเข้า ส่งออก โดยมีผู้ใช้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์แล้วประมาณ 8,000 ทะเบียน ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกทั้งหมด
   4. ระบบติดตามสถานะของเอกสารและสินค้า ตลอดกระบวนการนำเข้าส่งออก รวมถึงระบบติดตาม การเชื่อมโยงข้อมูล ASEAN Single Window
   5. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายธนาคารพาณิชย์ พร้อมรองรับการทำ ธุรกรรม e-Payment ของภาครัฐ และผู้ประกอบการภายในประเทศ และระหว่างประเทศ
   6. ระบบ Help Desk และ Call Center เป็นศูนย์กลางการให้บริการคำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับ การใช้บริการระบบ National Single Window ของประเทศ รวมถึงการบริการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศ อาเซียน และประเทศอื่นๆ


ตัวอย่าง สารชีวะ ที่มีการควบคุม
ลำดับที่
ชื่อเคมี
 สูตรหรือส่วนผสม
ประเภทพิกัดฯและรหัสสถิติ
1
BOTULINAL TOXINS

3002.90.00-101/KGM
2
FUSARIO TOXIN T-2
C24H34O9
3002.90.00-203/KGM
3
RICIN

3002.90.00-990/KGM
4
SAXITOXIN

3002.90.00-204/KGM
5
TAPHYLOCOCCAL ENTEROTOXIN B
C10H17N7O4. 2HCl
3002.90.00-205/KGM

8. ภัยคุกคาม: โรคแอนแทรกซ์
   เชื้อแบคทีเรีย เช่น แอนแทรกซ์ มีชื่อว่า Bacillus anthracis มีการสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เมื่อตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะบ่มตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างเกราะหุ้มได้ ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ฟักตัวอยู่ในดินนานนับ 10 ปี หากตกอยู่ในพื้นที่ใดจะทำให้พื้นที่นั้นๆ ไม่สามารถใช้งานทางปศุสัตว์ได้อย่างน้อย 2–3 ปี
   การใช้เชื้อแอนแทรกซ์เป็นอาวุธ ทำได้โดยการนำเชื้อแอนแทรกซ์ที่เพาะเลี้ยงไว้และเก็บในรูปสารละลายมาฉีดพ่นโดยเครื่องบิน หรือใช้ทำเป็นหัวรบ ตัวอย่างประวัติการใช้เชื้อแอนแทรกซ์
   1942 – อังกฤษทดลองเชื้อแอนแทรกซ์ ณ เกาะ Gruinard ใกล้ๆกับสก็อตแลนด์, ซึ่งพึ่งจะทำลายเชื้อและยุติโครงการลงเมื่อไม่นานมานี้
   หมายเหตุ ใน ค.ศ. 1941 – 1942 อังกฤษได้ทำการทดลองปล่อยกระจายสารชีวะเพื่อเตรียมไว้ใช้โต้ตอบเยอรมัน หากพบว่าเยอรมันหันมาใช้อาวุธชีวะกับทหารอังกฤษ ในครั้งนั้น อังกฤษได้พ่นละอองเชื้อแอนแทรกซ์ใส่เกาะกรินาร์ด ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ทางฝั่งตะวันตกของแคว้นสก็อตแลนด์ ในกว่า 40 ปี ต่อมา การสำรวจยังพบว่า เชื้อดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ได้ ทำให้รัฐบาลอังกฤษ ต้องใช้เงินหลายล้านปอนด์ ฆ่าเชื้อที่ฝังอยู่ในดิน ด้วยวิธีการตัดหน้าดินทั้งเกาะไปทิ้งและราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
   1979 – แอนแทรกซ์สปอร์ถูกปล่อยออกมาโดยอุบัติเหตุที่โรงงานของกองทัพสหภาพโซเวียตแห่งหนึ่ง, ทำให้มีผู้เสียชีวิต 68 คน
   หมายเหตุ แม้จะมีอนุสัญญาห้ามผลิตอาวุธชีวะ แต่ในปี ค.ศ.1980 หลังจากเกิดอุบัติเหตุที่โรงงานผลิตสารชีวะ ที่เมืองสเวิดลอฟก็ หรือ เยแคเทอรินสเบิร์ก ทำให้มีเชื้อโรคแอนแทรกซ์ แพร่ออกไป ส่งผลให้ประชาชนที่ได้รับเชื้อเสียชีวิตหลายร้อยคน แน่นอน ครั้งนั้นโซเวียตได้ออกมาปฏิเสธ แต่หลังจาก เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย แคว้นต่าง ๆ ได้แยกออกมาตั้งตัวเป็นอิสระเป็นประเทศเกิดใหม่และรัธเวีย เป็นประเทศที่ยอมรับว่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจริง
   1990-93 – กลุ่มผู้ก่อการร้ายโอมชินรีเกียว (Aum Shinrikyo) ปล่อยสารแอนแทรกซ์ในกรุงโตเกียวแต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
   1995 – อิรักยอมรับถึงการผลิตหัวเชื้อแอนแทรกซ์ 8,500 ลิตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาวุธชีวะภาพ
   2001 – มีจดหมายบรรจุสปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ส่งไปยังสำนักข่าว NBC 1 อาทิตย์หลังจากการก่อวินาศกรรมกับอาคารกระทรวงกลาโหม และตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ มันเป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีนี้ในสหรัฐ ส่วนในมลรัฐ Florida, ชายคนหนึ่งเสียชีวิตหลังจากสูดดมเชื้อแอนแทรกซ์เข้าไปภายในสำนักงานของสื่ออเมริกัน (the Office of American Media Inc.) (ที่มา : WWW.CNN.COM)



   [1] เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการปล้นเครื่องบินพาณิชย์และพุ่งเข้าชนอาคารแฝดซึ่งได้แก่ อเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 ชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 บริเวณชั้นที่ 90-95 และ ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 ชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 บริเวณชั้นที่ 75-90 ส่งผลให้ทั้งสองอาคารถล่มในเวลาต่อมา โดยอาคารแรกที่ถล่ม คือ อาคารสอง ถล่มหลังจากถูกชน 1 ชั่วโมงเศษ และอาคารหนึ่งได้ถล่มหลังอาคารสอง 45 นาที (หรือหลังจากถูกชน 1 ชั่วโมง 45 นาที) หลังจากนั้น อาคาร 7 ได้ถล่มในวันถัดมา เนื่องจากการถล่มของอาคารทั้งคู่ทำให้รากฐานของอาคาร 7 ไม่มั่นคง ประกอบกับตัวอาคารเกิดไฟไหม้ ทำให้โครงเหล็กค้ำยันของอาคาร 7 ถล่มลง แต่โชคดีที่มีการอพยพคนออกจากอาคารนี้ก่อนที่จะถล่ม ส่วนอาคารที่เหลืออีก 4 อาคาร ได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากถูกอาคาร 1 และอาคาร 2 ถล่มทับ มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการรวม 2,749 คน (วิกิพีเดีย, 29.4.56)    [2] อาคารเพนตากอนเป็นหนึ่งในสถานที่เกิดเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 โดยผู้ก่อการร้ายได้จี้เครื่องบินของอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอนด้านตะวันตก เครื่องบินทะลุเข้าไปถึงชั้นที่ 3 ของอาคาร ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน โชคดีที่อาคารด้านนั้นกำลังอยู่ในช่วงซ่อมแซมพอดี ทำให้เจ้าหน้าที่บางส่วนไม่ได้ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น (วิกิพีเดีย, 29.4.56) 
   [3] อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction, WMD) คืออาวุธที่สามารถสังหารมนุษย์ สัตว์หรือพืชในจำนวนมาก และอาจทําลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมหาศาล ซึ่งจำแนกได้เป็นอาวุธหลายประเภทด้วยกันได้แก่ อาวุธเคมี (Chemical), อาวุธชีวภาพ (Biological), อาวุธปรมาณู (Nuclear) รวมไปถึงอาวุธกัมมันตภาพรังสี (Radiological) หรือ CBRN คำนี้ถูกใช้มากที่สุดในการรุกรานอิรักใน พ.ศ. 2546 ที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำการโจมตี (โดยอ้างเหตุในการรุกรานว่าอิรักนั้นครอบครองอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง) (วิกิพีเดีย, 29.4.56) 
   [4] สินค้าที่ใช้ได้สองทาง ‘Dual-use items’ หมายถึงสินค้า และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งทางพาณิชย์ หรือทางสงคราม ซึ่งรวมถึงวัสดุอุปกรณ์/โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือพัฒนาสินค้าสองทาง ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านความปลอดภัยและเทคโนโลยี (รวมถึงซอฟแวร์และอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม) ด้านเซนเซอร์และเลเซอร์ ด้านอุปกรณ์เดินเรือและการบิน ด้านเรือเดินทะเล และด้านอุปกรณ์ขับเคลื่อนทางอวกาศ เป็นต้น (Council Regulation (EC) No.428/2009 Category 0 -9) 
   [5] http://www.australiagroup.net/en/participants.html 
   [6] http://europa.eu/about-eu/countries/index_en.htm 
   [7] http://www.customs.go.th/wps/wcm/connect/Library+cus501th/InternetTH/AEC/11B4A8EC38244864D77DA4E76F977A6D































Copyright by 
Dr.SangobSittidech
May 8, 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สารบัญรวมบทความทั้งหมด

ที่ดินบ้านสวน 1 งาน ท่ามกลางธรรมชาติในโครงการโกลเด้นโฮมเชียงแสนฯ ผ่อนสบาย ๆ เดือนละหมื่นกว่าบาท 24 เดือน ได้เป็นเจ้าของทันที   สนใจติ...