วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวคิดการตรวจสอบสินค้าอาวุธทำลายล้างสูง (WMD)


ความสำคัญของหลักสูตรการตรวจสอบสินค้าอาวุธทำลายล้างสูง (CIT) และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


หลักสูตรนำร่องการตรวจสอบสินค้าอาวุธทำลายล้างสูง (WMD CIT) ครั้งที่ 1 15-16 มิถุนายน 2554 ณ ห้องประชุม บริษัทเทรดสยาม ชั้น 2 อาคาร 8 กรมศุลกากร ถนนสุนทรโกษา บรรยายโดย ดร. สงบ สิทธิเดช 


ความสำคัญของหลักสูตรการตรวจสอบสินค้าอาวุธทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction Commodity Identification Training: WMD CIT)

          1. เพื่ออบรมเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานควบคุมการนำเข้า-ส่งออก ให้มีความรู้เรื่องวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธทำลายล้างสูง (WMD) ตามที่ระบุไว้ในรายการควบคุม (control lists) ที่จัดทำโดยกลุ่มผู้จัดหานิวเคลียร์ (NSG) กลุ่มออสเตรเลีย (AG) และกรอบระเบียบการควบคุมเทคโนโลยีขีปนาวุธ (MTCR):
                   - ภาควิชาการ (วิทยากรจากหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง)
                   - ภาคปฏิบัติ (แบบฝึกหัด รูปภาพและการสาธิต)
          2. เพื่อทราบถึงกฎระเบียบปฏิบัติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ WMD - สินค้าที่ใช้ได้สองทาง
          3. เพื่อทราบถึงข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม WMD
          4. เพื่อตระหนักถึงภัยคุกคามการก่อการร้ายด้วยอาวุธทำลายล้างสูง
          5. เพื่อทราบแนวทางการจัดทำบัญชีควบคุมสินค้าและระบบควบคุมการส่งออกของไทย
          6. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับระบบควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง

ภาพรวมแนวคิดระบบการควบคุม WMD
System Theory/Approach


1. Input 4 Ms LT
          องค์ประกอบทั้งหมดของอาวุธเคมีชีวะและนิวเคลียร์
       1.1 บุคลากรด้าน WMD คนกลาง นายหน้า เครือข่ายในการจัดซื้อจัดหาที่ผิดกฎหมาย (Man/Human)
1.2 งบประมาณ แหล่งเงินลงทุน(Money/Capital)
1.3. วัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ ส่วนประกอบ เครื่องจักร โรงงานผลิต (Material)
1.4 เทคโนโลยี ชอฟแวร์ ฟิลม์เขียว (Technological)
1.5 ระบบการขนส่ง (Logistics & Supply Chain) นำเข้า ส่งออก ส่งผ่าน/ถ่ายลำ ผ่านแดน
 (3-5 Dual-use Goods)
1.6 การบริหรจัดการ (Managerial)
2. WMD Process
3. Output
          3.1 อาวุธเคมี (Chemical)
          3.2 อาวุธชีวภาพ (Biological)
          3.3 อาวุธปรมาณู (Nuclear)
          3.4 ขีปนาวุธ (Missile)
                   จรวดขีปนาวุธที่มีพิสัยเกิน 300 กม. และน้ำหนักบรรทุกมากกว่า 500 กก.
4. Feed Back
          4.1 กฎระเบียบระหว่างประเทศและกฎหมายภายในแต่ละประเทศ
                   4.1.1 กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม WMD – พหุภาคี
                   4.1.2 กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม WMD – UN
                   4.1.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมนำเข้า ส่งออก WMD
          4.2 มาตรการทางการค้า
          4.3 การตรวจสอบจาก IAEA
  

อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง
อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction, WMD) คืออาวุธที่สามารถสังหารมนุษย์ สัตว์หรือพืชในจำนวนมาก และอาจทําลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมหาศาล ซึ่งจำแนกได้เป็นอาวุธหลายประเภทด้วยกันได้แก่ อาวุธเคมี (Chemical), อาวุธชีวภาพ (Biological), อาวุธปรมาณู (Nuclear) รวมไปถึงอาวุธกัมมันตภาพรังสี (Radiological) CBRN คำนี้ถูกใช้มากที่สุดในการรุกรานอิรักใน พ.ศ. 2546 ที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำการโจมตี (โดยอ้างเหตุในการรุกรานว่าอิรักนั้นครอบครองอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง) (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี: 3.06.54)  
          ลำดับประเทศที่มีการทดลองนิวเคลียร์ (1) สหรัฐอเมริกา 1945 / พ.ศ.2488 (2) รัสเซีย 1949 / พ.ศ.2492 (3) สหราชอาณาจักร 1952 / พ.ศ. 2495 (4) ฝรั่งเศส 1960 / พ.ศ.2503 (5) จีน 1964 / พ.ศ.2507 (6) อินเดีย 1974 / พ.ศ.2517 (7) ปากีสถาน 1998 / พ.ศ.2541 (8) เกาหลีเหนือ 2006 / พ.ศ. 2549

ความน่าวิตกอันเนื่องจากการเผยแพร่WMD
การเผยแพร่ (Proliferation): กระบวนการซึ่งประเทศหนึ่งเข้าครอบครอง WMD และ/หรือ วิธีการขนส่ง (อาวุธนิวเคลียร์, ชีวภาพ, เคมีและ/หรือจรวดขีปนาวุธ) ต่อจากประเทศอื่นใดๆ
ระดับระหว่างประเทศ
1991; การค้นหาการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิรัก ฯลฯ จากผลต่อเนื่องของการตรวจสอบของ UN หลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย
1993; การทดลองปล่อยจรวดขีปนาวุธ Nodong โดยเกาหลีเหนือ (จรวดตกในทะเลญี่ปุ่น)
1998; -การทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยอินเดียและปากีสถาน
        - การทดลองปล่อยจรวดขีปนาวุธ Taepodong โดยเกาหลีเหนือ
2002-; การสงสัยการฟื้นฟูการพัฒนานิวเคลียร์ใหม่ของเกาหลีเหนือ
2004; การค้นหาเครือข่ายจัดซื้อที่ผิดกฎหมายของเทคโนโลยีนิวเคลียร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
2006; - ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน
        - ร่อยรอยอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ (เกาหลีเหนืออ้างว่าประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรก)
ระดับภายในประเทศ
1995; การจู่โจมด้วยแก๊สซารินในรถไฟใต้ดินโตเกียวประเทศญี่ปุ่น
2001; - การโจมตีของผู้ก่อการร้าย วันที่ 11 เดือนกันยายน ค.ศ.2001
         - การจู่โจมแก๊สแอนแทร็คซ์โดยผู้ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา

เครือข่ายการจัดซื้อที่ผิดกฎหมาย
          1. กำจัดองค์ประกอบทั้งหมดของอาวุธเคมีและนิวเคลียร์
          2. กำจัดจรวดขีปนาวุธที่มีพิสัยเกิน300กิโลเมตรและ, น้ำหนักบรรทุกมากกว่า500กิโลกรัม
          3. ยอมรับการตรวจสอบจากนานาชาตินำโดย IAEA
                   จากการตรวจสอบ IAEA พบว่า
(1)    มีเครือข่ายในการจัดซื้อจัดหาเทคโนโลยีนิวเคลียร์และ
(2)    อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การขนส่งอุปกรณ์และวัตถุดิบกระทำผ่านคนกลางซึ่งทำหน้าที่ประสานงาน

สินค้าที่ใช้ได้สองทาง ‘Dual-use items’
          สินค้าที่ใช้ได้สองทาง ‘Dual-use items’ หมายถึงสินค้า และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งทางพาณิชย์ หรือทางสงคราม ซึ่งรวมถึงวัสดุอุปกรณ์/โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือพัฒนาสินค้าสองทาง ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านความปลอดภัยและเทคโนโลยี (รวมถึงซอฟแวร์และอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม) ด้านเซนเซอร์และเลเซอร์ ด้านอุปกรณ์เดินเรือและการบิน ด้านเรือเดินทะเล และด้านอุปกรณ์ขับเคลื่อนทางอวกาศ เป็นต้น (Council Regulation (EC) No.428/2009 Category 0 -9)

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม WMD
          ในกรอบพหุภาคี
1. กลุ่มผู้จัดหานิวเคลียร์ - Nuclear Supplier Group (NSG) 1975 ควบคุมวัสดุนิวเคลียร์ และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
2. กลุ่มออสเตรเลีย - Australia Group (AG) 1985 ควบคุมสารเคมี สารชีวภาพ วัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพได้ และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
3. กรอบระเบียบการควบคุมเทคโนโลยีขีปนาวุธ - Missile Technology Control Regime (MTCR) 1987 ควบคุมวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีชั้นสูงที่ใช้ผลิตขีปนาวุธ
4. การจัดการวาเซนน่าร์ - Wassenaar Arrangement (WA) 1994 ควบคุมวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ที่สามารถนำไปใช้ผลิตอาวุธตามแบบที่ร้ายแรง และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
5. ข้อบังคับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council Regulation (EC) No. 428/2009) ควบคุมด้านนิวเคลียร์ และสินค้าสองทางรวมถึงชอฟแวร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเทคนิคและวิธีการใช้เทคโนโลยี
ประเทศสมาชิกระบอบควบคุมการส่งออกร่วมกันกำหนดรายการสินค้า dual-use และกำหนดมาตรการควบคุมสินค้าดังกล่าวอย่างเข้มงวดในเรื่องการออกใบอนุญาต (license) การรับรองการใช้หรือผู้ใช้ปลายทาง (end-use/end-users) การตรวจสอบปลายทางหลังการส่งออก (verification) และมาตรการสอบสวนและบทลงโทษ (investigation mechanism and penalties) ทั้งนี้รวมถึง การควบคุมการส่งผ่าน (transit) การถ่ายลำ (transshipment) และการส่งออกไปใหม่ (re-export) ด้วย โดยจะเน้นการนำมาตรการตรวจสอบคอนเทนเนอร์ (Container Security Initiative: CSI) และมาตรการ catch all control ซึ่งจะควบคุมสินค้า dual-use ทุกชนิดที่จะส่งไปยังกลุ่ม country of concern มาใช้อย่างเข้มงวดด้วย

ในกรอบสหประชาชาติ
          1. สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty: NPT) 1970
ห้ามรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Weapon State หรือ NWS) ซึ่งได้แก่ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน ส่งหรือช่วยให้ประเทศอื่น ผลิต หรือครอบครองอาวุธนิวเคลียร์  และห้ามรัฐที่ไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Nuclear Weapon State หรือ NNWS)  รับ แสวงหา หรือขอความช่วยเหลือในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และให้ NNWS จัดทำความตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ (Safeguards Agreement) กับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ว่าจะไม่นำพลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติไปดัดแปลงใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ 
2. สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty: CTBT) 1996 ห้ามรัฐภาคีทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง โดยครอบคลุมทั้งบนดิน ใต้ดิน ใต้น้ำ และอวกาศ
3. อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention : CWC) 1997
- ห้ามรัฐภาคีใช้อาวุธเคมีในการทำสงคราม ห้ามพัฒนา ผลิต สะสมอาวุธเคมี
- ให้ดำเนินการทำลายอาวุธเคมีที่ได้ผลิตและมีอยู่ในครอบครอง และให้มีการตรวจพิสูจน์ 
  ยืนยัน (verification) การดำเนินการดังกล่าวด้วย 
- ให้มีการควบคุมการผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออก และส่งผ่านสารเคมีพิษ
  และสารที่อาจใช้ผลิตสารเคมีพิษตามที่อนุสัญญาควบคุมอย่างเข้มงวด
4. อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวะ (Biological Weapons Convention: BWC) 1975
ห้ามพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธบัคเตรี (ชีวะ) และอาวุธทอกซิน และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้
5. มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ที่ 1540 (2004) เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ว่าด้วยการไม่แพร่ขยาย WMD หลังเหตุการณ์ 9.09.2001
 (1) งดเว้นให้การสนับสนุนบุคคลหรือคณะบุคคลที่มิใช่รัฐ (non-State actors) ในความพยายามที่จะพัฒนา ผลิต จัดหาให้ได้มา ผลิต ครอบครอง ขนส่ง โอน หรือใช้อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ และเครื่องส่ง
(2) ให้ออกกฎหมายห้ามคณะบุคคลที่มิใช่รัฐ (non-State actors) ผลิต จัดหาให้ได้มา ครอบครอง พัฒนา ขนส่ง โอน หรือใช้ WMD และเครื่องส่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการก่อการร้าย รวมถึงความพยายามที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมข้างต้น ไม่ว่าจะในฐานะผู้กระทำให้สำเร็จผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือผู้สนับสนุนทางการเงิน และให้มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ให้ออกกฎหมายและกฎระเบียบควบคุม WMD เครื่องส่ง และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการรักษาความมั่นคงของวัสดุที่เกี่ยวข้องกับ WMD การควบคุมชายแดน การป้องกันการลักลอบค้าอย่างผิดกฎหมายและกิจกรรมนายหน้าค้าอาวุธและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การควบคุมการส่งออก การส่งผ่าน การถ่ายลำ การส่งออกกลับไปอีกครั้ง การควบคุมเงินทุนและบริการที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและถ่ายลำดังกล่าว รวมทั้งจัดตั้งระบบควบคุมผู้ใช้สุดท้าย ตลอดจนบังคับใช้บทลงโทษทางแพ่งและอาญาที่เหมาะสมต่อผู้ที่ละเมิดกฎหมายและกฎระเบียบเรื่องการควบคุมการส่งออก (กรมองค์การระหว่างประเทศ: 7 สิงหาคม 2549) 
  มติ ครม. 20 กรกฎาคม 2553 เรื่อง การบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง เห็นชอบให้ประเทศไทยมีระบบบริหารการนำเข้า - ส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (สินค้า และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งทางพาณิชย์ หรือทางสงคราม) และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำระบบบริหารการนำเข้า - ส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง โดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และจัดทำบัญชีรายการสินค้าที่ใช้ได้สองทาง โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้คำนึงถึงถึงความจำเป็นเหมาะสมในการกำหนดระบบมาตรฐานสากลทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุนของประเทศ
6. มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1718 (2006) เรื่อง การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2549 (Security Council Committee established pursuant to resolution 1718 (2006) concerning the Democratic People’s Republic of Korea) – มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามข้อมติ UNSC 1718 (2006) โดยพิจารณาข้อเสนอแนะของที่ประชุมหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2549
ข้อมติฯ ในข้อ 8(a), (b), (c) เกี่ยวข้องกับการที่รัฐสมาชิกจะต้องจำกัดการจัดหา ขาย ขนย้าย และจัดซื้อสินค้าประเภทยุทธภัณฑ์ สินค้าเทคโนโลยี สิ่งของ วัตถุดิบ อุปกรณ์ สินค้า หรือเทคโนโลยีอื่นใดที่คณะมนตรีฯ หรือคณะกรรมการเห็นว่าอาจมีส่วนช่วยในโครงการที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ ขีปนาวุธพิสัยไกล หรืออาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงอื่นๆ ของเกาหลีเหนือตามรายการที่คณะมนตรีฯ กำหนดในเอกสารที่ S/2006/814, S/2006/815, S/2006/816 ดังนี้
S/2006/814: รายชื่อของรายการวัสดุ อุปกรณ์ สินค้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์
       S/2006/815: รายชื่อของรายการวัสดุ อุปกรณ์ สินค้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงการขีปนาวุธนำวิถี
S/2006/816:
            - รายชื่อของรายการวัสดุ อุปกรณ์ สินค้าและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาวุธทำลายล้างสูง
- รายการควบคุมการส่งออก: สารตั้งต้นของอาวุธเคมี
- รายการควบคุมโรงงานที่ใช้ผลิตสารเคมี อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ได้สองทาง
- รายการควบคุมอุปกรณ์ทางชีววิทยาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องการใช้ได้สองทาง
Annex (http://documents.un.org/basic_E.html)
1. รายการควบคุมการส่งออก: สารตั้งต้นของอาวุธเคมี
2. โรงงานที่ใช้ผลิตสารเคมี อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ได้สองทาง
I. โรงงานที่ผลิตและอุปกรณ์
1. Reaction Vessels, Reactors or Agitators
2. Storage Tanks, Containers or Receivers
3. Heat Exchangers or Condensers
4. Distillation or Absorption Columns
5. Filling Equipment
6. Valves
7. Multi-Walled Piping
8. Pumps
9. Incinerators
II. ก๊าซพิษระบบการติดตามและเครื่องตรวจจับ
III. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
3. สารชีวะ (ไวรัส, Rickettsia, แบคทีเรียสารพิษดังต่อไปนี้, สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม -)
4. เชื้อโรคจากพืช (Bacteria, Fungi, Genetically-modified Organisms)
5. เชื้อโรคจากสัตว์ (Viruses, Bacteria, Genetically-modified Organisms)
6. อุปกรณ์ทางชีววิทยาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องการใช้ได้สองทาง
I. Equipment
II. Related Technology

การลดและการไม่เผยขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
1. นโยบายของประเทศไทยในเรื่องการลดและการไม่แพร่กระจายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
1. นโยบายเรื่องการลดและการไม่แพร่กระจายอาวุธของไทยสอดคล้องกับกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) โดยไทยให้ความสำคัญกับการลดและไม่แพร่กระจายอาวุธในฐานะเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายและเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศไทยเห็นว่าการลดและการไม่แพร่กระจายอาวุธจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปจึงจะนำไปสู่สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศที่ยั่งยืน และประเทศต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของตนภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศด้านการลดและไม่แพร่กระจายอาวุธ
2. ไทยสนับสนุนระบอบการลดและไม่แพร่กระจายอาวุธระหว่างประเทศ และให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในเรื่องการลดอาวุธและไม่แพร่กระจายอาวุธภายใต้ระบอบพหุภาคีด้วยดีมาโดยตลอด ไทยเข้าร่วมในความตกลงระหว่างประเทศด้านการลดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD) แล้วทุกฉบับ โดยเป็นรัฐภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT), อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี (CWC), อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ (BWC), ความตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ (Safeguards Agreement) และเป็นรัฐร่วมลงนามสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (CTBT) รวมทั้งได้ลงนามในพิธีสารเพิ่มเติม (Additional Protocol) ของ IAEA Safeguards Agreement แล้วในปี พ.. 2548
3. รัฐบาลไทยมีนโยบายแน่วแน่ที่จะไม่ผลิต พัฒนา แสวงหา แพร่กระจายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD) ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของไทยพร้อมให้ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการป้องกันการแพร่กระจายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD) และการก่อการร้าย ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ทั้งนี้ไทยปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงระหว่างประเทศด้านการลดและไม่แพร่กระจายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD) ที่ไทยเป็นภาคีอย่างเคร่งครัด โดยไทยมีกฎหมายบังคับใช้อย่างเข้มงวดและมีบทลงโทษคนชาติตนที่กระทำการละเมิดพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวกล่าวโดยสรุปหนทางในการจัดการของรัฐที่ต้องเผชิญกับปัญหาอาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูง (WMD) นั้น (กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ: 2552)

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ WMD
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469
พ.ร.บ. ควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์ และสิ่งที่ใช้ในการสงคราม พ.ศ. 2495 และ พระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ในการสงคราม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
พ.ร.บ. พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504
พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522
พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2523
พ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 และประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต 30.11.50
พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
พ.ร.บ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525
ประมวลกฎหมายอาญา ม.135 (แก้ไขเพิ่มเติม)

รายการที่ควบคุมการส่งออก นำ/ส่งผ่าน WM

กฎหมาย
ลักษณะการควบคุม
รายการที่ควบคุม
.ร.บ. ควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์ และสิ่งที่ใช้ในการสงคราม พ.. 2495
พระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ในทางสงคราม (ฉบับที่ 2) พ.. 2552
การส่งออกไป
หรือการส่งผ่านไป
1. อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ เครื่องยิงหรือฉายพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้
   1.1 ประเภทอาวุธและเครื่องยิง ทิ้ง หรือปล่อย และอุปกรณ์
   1.2 ประเภทกระสุน วัตถุระเบิด ส่วนประกอบและอุปกรณ์
   1.3 ประเภทยานพาหนะทางน้ำ ทางบก และทางอากาศที่ใช้ในกิจการทางทหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้
2. สารเคมีที่ใช้ในการสงครามเคมี (17 รายการ)
3. สารเคมี และสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิด (177 รายการ)
4. วัตถุระเบิด (55 รายการ)
พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.. 2535
การผลิต การนำเข้า การส่งออก การมีไว้ในครอบครอง
สารเคมีที่เป็นพิษ
. สารเคมีตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี
สารตั้งต้น
พ.ร.บ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.. 2525
ผลิต ครอบครอง นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน (นำหรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมีการขนถ่ายหรือเปลี่ยนพาหนะ)
เชื้อโรคในคนและสัตว์
เชื้อโรคที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาวุธ
ชีวภาพได้
พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
นำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร
                     สัตว์ หรือซากสัตว์
พ.ร.บ. พลังงานปรมาณูเพื่อสันติพ.. 2504
นำหรือส่งออกนอก
นำหรือสั่งเข้ามาใน
ยูเรเนียม, ธอเรียม, พลูโตเนียม
วัสดุกัมมันตภาพรังสี
พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.. 2522
การส่งออก หรือการนำเข้า
ควบคุมการส่งออกสินค้าที่สามารถใช้ประโยชน์ได้สองทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายการสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (มติ ครม. ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2553)


กฎหมายศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมนำเข้า-ส่งออก
          ม.40 ก่อนที่จะนำของใด ๆ ไปจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำของเข้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน
ม.45 ก่อนที่จะส่งของใด ๆ ออกนอกราชอาณาจักร ผู้ส่งของออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน
          ม.27 ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามก็ดี หรือส่ง หรือพาของเช่นว่านี้ออกไปนอกพระราชอาณาจักรก็ดี สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
หมายเหตุ: ของต้องห้าม คือ ของที่มีข้อห้ามแน่นอนซึ่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้า ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนของต้องกำกัด คือ ของที่จำเป็นจะต้องทำการขออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนที่จะมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า

ฐานข้อมูลวัตถุอันตราย ยุทธภัณฑ์ ของกรมศุลกากร
          http://web7.customs.net/jsp/Hazard/index.jsp
ฐานข้อมูลวัตถุอันตราย ยุทธภัณฑ์ และยาเสพติดให้โทษ จัดทำขึ้นเพื่อการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบติดตาม และควบคุมการนำเข้า-ส่งออก ของสารเคมี (รวมทั้งจุลินทรีย์และพืชบางชนิด) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงผลกระทบด้านความมั่นคง อันเป็นยุทธศาสตร์ที่กรมศุลกากรดำเนินการด้านปกป้องสังคมจากพิษภัยของสารเคมี (รวมทั้งจุลินทรีย์และพืชบางชนิด) เหล่านี้ นอกจากนี้ยังเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการสำแดงประเภทพิกัดศุลกากร และตรวจสอบสินค้าที่นำเข้า-ส่งออก ว่าเป็นของควบคุมและ/หรือต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่ประการใด
ฐานข้อมูลฯ ประกอบด้วย บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ยุทธภัณฑ์ (ประเภทสารเคมี ) ยาเสพติดให้โทษและ เครื่องหมายสากล (Marks and Labels) (ส่วนวิเคราะห์สินค้า กรมศุลกากร: 9.06.54)

เว็บที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลความปลอดภัยด้านสารเคมี
                   ฐานข้อมูลความปลอดภัยด้านวัตถุอันตรายสกว., NCE-EHWM
                 http://www.chemtrack.org/Chem.asp
                   สายด่วนตรวจสอบวัตถุอันตราย - กรมโรงงานอุตสาหกรรม
                  http://www2.diw.go.th/haz/SearchList.asp
                   ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ
                 http://msds.pcd.go.th/index.asp


โครงการขอรับสถานะภาพเป็นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาต (Authorized Economic Operator: AEOs)
          กรมศุลกากร ได้ออกประกาศกรมฯ ที่ 40/2554 ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาต (Authorized Economic Operator: AEOs) สำหรับผู้ส่งของออก
          สิทธิพิเศษ
1. ได้ใบรับรองสถานภาพการเป็นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการว่า เป็นผู้มีระบบการควบคุมความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อุปทาน
2. ให้ผ่านการตรวจสอบใบขนสินค้าขาออกโดยไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) และได้รับงดเว้นการตรวจทางกายภาพ เว้นแต่การสุ่มตรวจ
3. หากสินค้าจะต้องถูกตรวจทางกายภาพจะได้รับการอำนวยความสะดวกโดยได้รับการตรวจในลำดับแรกๆ
4. สินค้าที่ส่งออกจะได้รับการยอมรับจากศุลกากรต่างประเทศที่จะมีการทำความตกลงยอมรับ (Mutual Recognition Agreement: MRA) กับกรมศุลกากรในอนาคต ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการตรวจปล่อยสินค้าที่จะนำเข้าประเทศนั้นๆ
5. สิทธิพิเศษอื่นๆ อันจะพึงมีในอนาคตตามที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนด
ผู้ประกอบการที่สนใจและประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ สามารถสอบถามรายละเอียดและยื่นใบสมัครได้ที่ ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร (www.customs.go.th/AEO/Inf_AEO.pdf)

สารบัญรวมบทความทั้งหมด

ที่ดินบ้านสวน 1 งาน ท่ามกลางธรรมชาติในโครงการโกลเด้นโฮมเชียงแสนฯ ผ่อนสบาย ๆ เดือนละหมื่นกว่าบาท 24 เดือน ได้เป็นเจ้าของทันที   สนใจติ...