วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Customs Law Concerning the Strategic Trade Control by WMD CIT working group

By WMD CIT working group
February 20, 2012
At the Customs Department

Dr.Sangob Sittidech
Customs Technical  Officer, Professional
WMD CIT working group

Customs Law Concerning the Strategic Trade Control by WMD CIT working group

1. The Strategic Trade Control

Customs is now playing the major role to balancing facilitation and control the movement of goods

Vision Statement
World-class Customs for competitiveness and social protection
Mission
1. To provide modern, expeditious, and global standard Customs service
2. To promote economic development and national competitiveness by implementing Customs-related measures
3. To enhance efficiency in Customs control, targeting at social protection
4. To collect revenue in an efficient, fair and transparent manner
Strategies
1. To develop Customs measures, targeting at national competitiveness
2. To develop capacity for Customs control, focusing on the international standards
3. To manage a revenue collection system, focusing on the good governance principle

2. on WMD CIT Working Group
1. WMD CIT working group is in short of … Weapon of Mass Destruction Commodity Identification Training
2. Established by the Department of Customs on April 18, 2011 with the cooperation of the Export Control and Related Border Security, the U.S. Embassy in Thailand
3. The purpose of WMD CIT working group
          3.1 To train customs officers to involve in the control of import - export and to gain  knowledge of materials and equipment related to WMD as specified in the control lists: NSG, AG, MTCR, WA
3.2 To acknowledge the international rules of conduct related to WMD - that is two-ways
          3.3 To acknowledge the various laws, related to the WMD
          3.4 To recognize the threat of terrorism with weapons of mass destruction
          3.5 To inform the preparation of accounting and control system for Thai exports
          3.6 To prepare the export control system that works two ways


3. This systematic approach to control WMD

3.1 Input 4 Ms LT
All elements in the preparation of WMD (chemical weapons, biological, nuclear and missile)
1.  Man / Human: Personnel intermediary brokerage network in the illegal procurement 
2.  Money / Capital: Sources of investment funds 
3. Material: Raw materials, components, machinery and equipment manufacturing 
4. Technological: Software technology and green films
5. Logistics & Supply Chain: Transportation System  import, export, transfer / Tran-shipment, transit (The 3-5 is a Dual-use Goods)
6. Managerial: Management 

3.3 Output
1.       Chemical Weapons (Chemical)
2.       Biological Weapons (Biological)
3.       Nuclear Weapons (Nuclear)
4.       Missile (Missile)
–                  Ballistic missiles with ranges exceeding 300 km and more than 500 kg payload

3.4 Feed Back – Integrated Control
1. International regulations related to WMD - in the framework of multilateral / UN
                   1.1 In a multilateral framework:
                   NSG, AG, MTCR, WA, EC
                   1.2 The United Nations:
                   NPT, CTBT, CWC, BWC, UNSCR 1540,
                   UNSCR 1718
2. Domestic law relating to the control of import / export WMD: 11 volumes       
3. Trade measures and the monitoring of IAEA

4. Domestic law relating to the control of import / export WMD
Law and Regulations - Security Council resolution 1540 (2004): WMD
• The Customs Act (1926)
• The Act Controlling the Exportation of Arms, Armament and War
Implements (1952)
• The Atomic Energy for Peace Act (1961)
• The Export and Import Goods Act (1979)
(Cabinet resolution of July 20, 2010 - delegated to the Ministry of Commerce is the main agency in the preparation of management import - export of goods that are available dual‐use product.)
• The Disease Control Act (1980)
• The Munitions of War Control Act (1987)
• The Royal Decree Controlling the Exportation of Arms, Armament
and War Implements (1992)
• The Hazardous Substance Act (1992)
• The Amendment to the Anti-Money Laundering Act (1999)
• The Animal Disease Control Act (2001)
• The Pathogens and Toxins Act (2001)
• The Amendment to the Section of 135 of the Penal Code

5. Integrating with Customs laws and regulations related to the import / export of WMD



Copyright by
Dr.Sangob Sittidech
February 21, 2012

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Thailand –Japan Export Control Seminar: Customs Control and Formalities

March 8, 2011 Crown Plaza Hotel
Lumpini Park Bangkok

Dr. Sangob  Sittidech
(LL.B., M.A., D.P.A.)
Customs Technical Officer, Professional
Bangkok Port Customs Bureau

Presentation out line
PART I Export Control System
PART II e-Export System
PART III Customs Role in - Protecting Cargo

PART I Export Control System
1. Customs Law Related to Export
•                   Requirements of the Customs to be satisfied before goods are exported
–                 Section 45 of the Customs Act B.E. 2469 (1926) “Before the exportation of any goods, the exporter shall have fully of complied with this Act and other laws relating to the customs, made due entry, and paid the full amount of duty or provided cash security therefore. The application for providing cash security shall be in accordance with the regulations laid down by the Director- General. ”
–                 Section 27. Any person imports or brings into the Kingdom any tax unpaid, restricted, or prohibited goods, or any goods which has not duly passed through the customs, or exports or takes such goods out of the Kingdom… For each offence there shall be a fine of four times the amount of price of the goods including duty or to imprisonment for a term of not exceeding ten years, or to both.

Customs Law Related to Other Laws
Law and Regulations - Security Council resolution 1540 (2004) : WMD
• The Act Controlling the Exportation of Arms, Armament and War
Implements (1952)
• The Atomic Energy for Peace Act (1961)
• Ministerial Regulations, issued under the order of the National
Administrative Reform Committee No. 37 (1976)
• The Export and Import Goods Act (1979)
(Cabinet resolution of July 20, 2010 - delegated to the Ministry of Commerce is the main agency in the preparation of management import - export of goods that are available dual‐use product.)
• The Disease Control Act (1980)
• The Munitions of War Control Act (1987)
• The Royal Decree Controlling the Exportation of Arms, Armament and War Implements (1992)
• The Hazardous Substance Act (1992)
• The Amendment to the Anti-Money Laundering Act (1999)
• The Animal Disease Control Act (2001)
• The Pathogens and Toxins Act (2001)
• The Amendment to the Section of 135 of the Penal

2. Licensing System by 15 digits
•                   Exporters must…..
–                 Obtain export license à 15 digits
    Licensing System for Tracking…Ex.
•                   สธ 0810 02 3 0227 38 àMinistry of Public Health
•                   กษ 0912 01 3 0030 38 àMinistry of Agriculture…
•                   กห 0206 02 0 0115 41 àMinistry of Defence
•                   อก 0412 02 3 0375 39 àMinistry of Industry
(Customs Notification 26/2544 Declaration in the list of entry permits for chemicals and hazardous materials)
.
–                 Submit Customs Entry document(s) within 15 days after Sub gate keyed Goods Transition Control (e-Export) into the system

3. Statistical code by HS

4. Risk Management System

Risk Management Profiles
There are 2 levels which are Central Profile & Local Profile.
Profiles (Central & Local)
•                   Business Profiles: Producers/Traders
•     Intelligence Data
•     International Agreement
•                   Complied with Standards of the Revised Kyoto Convention
•     Tariff code, Original of the goods, Shipment routing
•     List of Prohibited / Restricted Goods
•     Related Facts
Selection Criteria
•     High Risk: Inspect
•     Low Risk: Not inspect (Exempt)

PART II e-Export System
e-Export: Last Port
Documents
The minimum documents required to be submitted with the Export Declaration data consists of:
(1) Export Declaration data
(2) Invoice
(3) Export License (if applicable)
(4) Certificates of Origin (if applicable)
(5) Other relevant documents such as catalogue, product ingredients, etc.

e – Export Process 1

e – Export Process 2

PART III Customs Role in - Protecting Cargo
Protect cargo to high-risk container by used regulation
Thai & US Customs
Since the aftermath of the terrorist attacks USA in September 11, 2001. There are many programs took place to help the security of the United State such as
1. Container Security Initiative (CSI) 2003
2. Customs – Trade Partnership Against Terrorism (C-TPAT) 2001
3. 24-Hour Rule 2003
4. Mega Port Initiative (Radiation Detection)

Thai Customs & WCO
•                   WCO, Framework of Standards to Secure and Facilitate Global Trade : SAFE
•                   EU 2009, Authorized Economic Operator (AEO): EC Customs Security legislation Reg. 648/2005 and Reg. 1875/2006
•                   Authorized Economic Operator: an internationally recognized certification that an EU trader's role in the international supply chain is secure and customs controls and procedures are compliant.
•                   Department of Customs issued Customs Notification 84/2552 pilot program in which to obtain status as economic operators to be licensed. (Authorized Economic Operator: AEOs)

Caution on Exporters
Before exporting should consider the following issues;
1.       Checked before whether the goods are in the lists of export controls or other laws.
2.       If yes, should follow these procedures
1)      Request for permission to the relevant authorities before export.
2)      While exports (Ports Sub Gate) must verify that the product is waiting installation conditions make the risk to green or red.
3)      After sending out must submit the allowed documents to customs control of the port or airport at the final delivery to the Kingdom within 15 days from the date of matching - the goods  transition control.
         If filed thereafter, Customs officers will be considered guilty of the reason for not filing in a document in a reasonable time. [Customs Notification 116/2549 Article 53 (1)]





















Copyright by
Dr. Sangob Sittidech
February 21, 2012 






วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สินค้าอันตรายตามกฎหมายศุลกากร (Hazardous goods under the customs laws)

ที่มา มาตรา 6(6) แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469  "เพื่อให้การจัดเก็บอากรสำหรับสินค้าอันตรายเป็นไปโดยสอดคล้องกับความปลอดภัยในการขนถ่ายหรือการเก็บรักษาสินค้าในเขตศุลกากรแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่ออธิบดีได้หารือกับผู้รับผิดชอบประจำท่าหรือที่หรือสนามบินที่เป็นเขตศุลกากรแห่งนั้นแล้ว ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตรายและวิธีการเก็บอากรของสินค้าดังกล่าว ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขในการขนถ่าย การเก็บรักษาสินค้าและการนำสินค้านั้นออกไปจากเขตศุลกากรแห่งนั้น ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง"
1. สินค้าอันตรายตามกฎหมายศุลกากร
ความนัยมาตรา 6(6) นี้ได้เพิ่มโดย พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 14.2534 พร้อม ๆ กับมาตรา 61 ว่าด้วยของตกค้างที่เป็นสินค้าอันตราย และมาตรา 63 ทวิ มาตรการดำเนินการกับสินค้าอันตราย องค์ประกอบของสินค้าอันตรายตามกฎหมายศุลกากรมีดังนี้

เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 14.2534 คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการนำสินค้าจำพวกเคมีภัณฑ์ สิ่งมีพิษ หรือสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างอื่นเข้ามาในราชอาณาจักร และนำมาเก็บรักษาไว้ในเขตศุลกากรเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อมขึ้นได้ สมควรกำหนดวิธีการเก็บภาษีอากรสำหรับสินค้าอันตราย ตลอดจนเงื่อนไขในการขนถ่าย การเก็บรักษาสินค้า และการนำสินค้าออกไปจากเขตศุลกากรขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้มีกานำสินค้าเหล่านั้นออกไปจากเขตศุลกากรได้โดยรวดเร็วและเหมาะสมกับสถานที่เก็บรักษาสินค้าดังกล่าว นอกจากนี้ สมควรกำหนดมาตรการดำเนินการกับของตกค้างที่เป็นสินค้าอันตรายและของเสียและเรือที่นำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โลกในช่วงปี พ.ศ. 2523 2533 ต้นทุนการใช้จ่ายของการกำจัดของเสียอันตรายในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการลักลอบทิ้งของเสียอันตราย ทำให้ในช่วงปี 2529 2532 เกิดการบรรทุกกากของเสียอันตรายจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมไปทิ้งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและยุโรปตะวันออก สำหรับประเทศไทยพบว่าในปี 2531 เกิดเหตุการณ์การระเบิดของถังบรรจุไดเมโทเอท (dimethoate) แล้วเกิดเพลิงลุกไหม้สารเคมีในโกดังสินค้าอันตราย (ภายในโกดังเก็บสารเคมีไว้หลายชนิด)ท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และต่อมาปี 2534 ยังเกิดไฟไหม้คลังสินค้าอันตราย ณ ท่าเรือกรุงเทพ อีกครั้ง มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 16  ราย มูลค่าเสียหายรวมทั้งสิ้นประมาณ 150 ล้านบาท (ฐานข้อมูลความรู้ความปลอดภัยด้านสารเคมี: 2555) จากเหตุการณ์ทั้งสองจะเห็นว่าเกิดขึ้นในระหว่างการเก็บสินค้านั้น ๆ ขณะอยู่ในอารักขาศุลกากร ซึ่งสินค้านำเข้าทั่วไปสามารถเก็บได้ถึง 2 เดือนกับ 15 วันตามมาตรา 61 ก่อนที่จะเป็นของตกค้าง ฉะนั้น เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพื่อให้การจัดเก็บอากรสำหรับสินค้าอันตรายเป็นไปโดยสอดคล้องกับความปลอดภัยในการขนถ่ายหรือการเก็บรักษาสินค้าในเขตศุลกากร ในปี พ.ศ. 2534 จึงได้กำหนดให้มีมาตรการในการดำเนินการกับสินค้าดังกล่าวใน 2 มาตรการ กล่าวคือ
(1) มาตรการล่นระยะเวลาการเก็บรักษาสินค้าอันตรายลง หรือที่เรียกว่า “สินค้าอันตรายตามกฎหมายศุลกากร” โดยให้อำนาจอธิบดีประกาศกำหนดชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตราย ผลก็คือจะต้องนำออกจากเขตศุลกากรภายใน 5 วันสำหรับของที่ทำใบขนสินค้าขนถ่ายข้างลำ (OVERSIDE) และภายใน 7 วันสำหรับกรณีอื่น นับแต่สินค้าอันตรายอยู่ในอารักขาของศุลกากร ถ้าพ้นกำหนดแล้วสินค้าอันตรายนั้นก็จะตกเป็นของตกค้างทันที โดยผลของบทบัญญัติมาตรา 61 วรรคหนึ่ง (1)
สินค้าอันตรายตามกฎหมายศุลกากร ได้มีประกาศกำหนดชนิดและประเภทไว้ 2 ฉบับ
(1.1) ชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตรายเป็นไปตามบัญชีในภาคผนวก ท้ายประมวลระเบียบปฏิบัติฯ ข้อ 2 02 03 07 รวม 204 รายการ (เดิมคือประมวลฯ ข้อ 02 05 20 ตามคำสั่งทั่วไปกรมฯ ที่ 19/2535 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2535)
(1.2) ของเสียจากเรือที่นำเข้ามาเพื่อบำบัดหรือกำจัด ซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามปกติของเรือที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามประเภทย่อย 2710.99.00, 3825.50.00 และ 3825.90.00 ทั้งนี้ เพื่อให้การบำบัดหรือจำกัดของเสียจากเรือเป็นไปอย่างถูกวิธี ป้องกันมิให้มีการนำของเสียจากเรือไปทิ้งทะเล อันเป็นเหตุให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ.1978 (International Convention for the Prevention of Pollution from Ships, 1973, as modified by the Protocol of 1978 relating Thereto: MARPOL) ตามที่ประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาและมีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งกำหนดให้ท่าเรือต่าง ๆ ต้องจัดบริการอุปกรณ์รองรับของเสียจากเรืออย่างเพียงพอ โดยมิให้เรือต้องเสียเวลารอเกินความจำเป็น แนวทางปฏิบัติกรมศุลกากร ตามประมวลระเบียบปฏิบัติฯ ข้อ 1 04 01 45 (คำสั่งทั่วไปกรมฯ ที่ 13/2546, ประกาศกรมฯ ที่ 33/2546 และ คำสั่งทั่วไปกรมฯ ที่ 23/2552 กับประกาศกรมฯ ที่ 77/2552)
(2) มาตรการการผลักดันส่งกลับออกไปหรืองดการใช้ท่าเรือ ในกรณีที่ของตกค้างเป็นของเสียที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้รับผิดชอบท่าเรือหรือสนามบินแห่งหนึ่งแห่งใดหรือทุกแห่งในประเทศ ดำเนินการโดยพลันให้ตัวแทนของเรือที่นำของเสียเข้ามานำของเสียนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร หรืองดการให้ใช้ท่าเรือหรือสนามบินและบริการต่าง ๆ แก่เรือลำนั้นหรือเรืออื่น ๆ ทั้งหมดของเจ้าของเรือลำนั้นได้ตามระยะเวลาที่จะกำหนดตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ ตามความในมาตรา 63 ทวิ
อย่างไรก็ตามปัญหาการลักลอบนำของเสียอันตรายไปทิ้ง หรือกำจัดทำลายในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ทำให้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)  ร่วมกับผู้แทนจากประเทศสมาชิก ได้จัดทำอนุสัญญาบาเซล ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนและการกำจัด (Basel Convention  on the Control of Tran boundary  Movements of Hazardous Wastes and their Disposal) ขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เพื่อกำหนดข้อตกลงระหว่างประเทศในการควบคุมการนำเข้า การส่งออก  การนำผ่าน พร้อมทั้งการจัดการของเสียอันตรายให้มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการป้องกันการขนส่งที่ผิดกฎหมาย อนุสัญญาบาเซลฯ ได้เปิดให้ประเทศต่าง ๆ ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีได้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2533   และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่  5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และอนุสัญญามีผลบังคับใช้ต่อไทย ตั้งแต่ 22 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2541
ปัจจุบันกรมโรงงานอุตสาหกรรม อาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ประกาศให้ของเสียอันตรายตามอนุสัญญาดังกล่าว รวม 66 รายการ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่ต้องควบคุมการนำเข้า และกรมการค้าต่างประเทศ อาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. ควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2546 ประกาศให้ยางรถที่ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
2. แนวทางปฏิบัติกรมศุลกากรเกี่ยวกับสินค้าอันตราย
กำหนดไว้ตามประมวลฯ ข้อ 2 02 03 07 ว่าด้วย วิธีปฏิบัติแก่ "สินค้าอันตราย" ดังนี้
(1) ชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตรายเป็นไปตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้
(2) วิธีการเก็บอากรของสินค้าอันตรายกระทำได้ 3 วิธี
(2.1) ทำใบขนสินค้าขนถ่ายข้างลำ (OVERSIDE) โดยให้ทำพิธีการศุลกากรชำระภาษีอากรได้ก่อนเรือเข้าสำหรับท่า หรือที่ หรือสนามบินที่เป็นเขตศุลกากรแห่งนั้นไม่ปลอดภัยในการนำเข้าเก็บในโรงพักสินค้า
(2.2) ทำใบขนสินค้าล่วงหน้าโดยต้องมีใบตราส่งแนบมาด้วย และผู้นำของเข้าต้องเขียนตัวอักษรหรือประทับตรา "ล่วงหน้า" ไว้ตอนบนของใบขนสินค้าต้นฉบับและคู่ฉบับ การชำระอากรจะกระทำได้หลังจากเรือที่นำของตามใบขนสินค้านั้นมาถึงแล้วเท่านั้น โดยต้องสำแดงวันนำเข้า และเลขที่ใบตราส่งสินค้าไว้ในใบขนสินค้า และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราอากร หรืออัตราแลกเปลี่ยน ผู้นำของเข้าต้องแก้ไขให้ถูกต้องก่อน
(2.3) ทำใบขนสินค้าตามปกติ สำหรับสินค้าอันตรายที่มีภาชนะบรรจุปลอดภัยหรือท่า หรือที่ หรือสนามบินนั้นปลอดภัยในการนำเข้าเก็บในโรงพักสินค้า หรือจะทำการตรวจปล่อยที่ทำเนียบท่าเรือโดยไม่นำเข้าเก็บในโรงพักสินค้า กรณีผู้รับผิดชอบประจำท่า หรือที่ หรือสนามบินที่เป็นเขตศุลกากรแห่งนั้นเห็นได้ว่ามีสถานที่ที่มั่นคง ปลอดภัยสำหรับเก็บสินค้าอันตรายและสินค้าอันตรายนั้นมีภาชนะบรรจุที่ปลอดภัย หรือมีปริมาณเล็กน้อยเห็นได้ว่าจะไม่เกิดอันตรายในการเก็บในโรงพักสินค้า
(3) เงื่อนไขในการขนถ่าย การเก็บรักษา และการนำสินค้าอันตรายออกไปจากเขตศุลกากร
(3.1) การขนถ่ายสินค้าอันตราย
(3.1.1) ทำใบขนสินค้าขนถ่ายข้างลำ (OVERSIDE) เป็นการขนถ่ายจากเรือที่มาจากต่างประเทศลงเรือฉลอมหรือรถยนต์เลยทีเดียวไม่ต้องนำเข้าเก็บในโรงพักสินค้า
(3.1.2) ทำใบขนสินค้าล่วงหน้าก่อนเรือเข้า กรณีผู้รับผิดชอบประจำท่าหรือที่ หรือสนามบินที่เป็นเขตศุลกากรแห่งนั้น  เห็นได้ว่า  มีสถานที่ที่มั่นคงปลอดภัยสำหรับเก็บสินค้าอันตรายและสินค้าอันตรายนั้นมีภาชนะบรรจุที่ปลอดภัย  หรือมีปริมาณเล็กน้อยเห็นได้ว่าจะไม่เกิดอันตรายในการเก็บในโรงพักสินค้าในขณะที่เรือทำการขนถ่ายสินค้าอันตรายลงจากเรือ  จะต้องควบคุมดูแลให้สินค้าอันตรายที่ขนถ่ายลงจากเรือลง ณ ทำเนียบท่าเรือ   โดยให้ยื่นคำร้องขอต่อหัวหน้าศุลกากรประจำโรงพักสินค้านั้นๆ เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนการขนถ่ายหรือนำเข้าเก็บในโรงพักสินค้า
(3.1.3) ทำใบขนสินค้าตามปกติในขณะที่เรือทำการขนถ่ายสินค้าอันตราย จะต้องควบคุมดูแลให้การนำของดังกล่าวที่ขนถ่ายลงจากเรือเข้าเก็บในโรงพักสินค้า   หรือสถานที่ที่มั่นคงปลอดภัยสำหรับเก็บสินค้าอันตรายที่มีภาชนะบรรจุที่ปลอดภัย หรือมีปริมาณเล็กน้อยเห็นได้ว่า ไม่มีอันตรายในการเก็บรักษา
(3.2) การเก็บรักษาสินค้าอันตราย
ให้ผู้รับผิดชอบประจำท่าหรือที่หรือสนามบินที่เป็นเขตศุลกากรแห่งนั้นดำเนินการเก็บสินค้าอันตรายกรณีนอกเหนือจากข้อ (2.1) โดยขนถ่ายของดังกล่าวจากเรือและนำเข้าเก็บในโรงพักสินค้าที่มั่นคงปลอดภัย ในการเก็บสินค้าอันตรายสำหรับท่าหรือที่หรือสนามบินศุลกากรแห่งนั้นโดยปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของกรมศุลกากร และสินค้าอันตรายนั้นต้องมีภาชนะบรรจุที่ปลอดภัยหรือมีปริมาณเล็กน้อยเห็นได้ว่า ไม่มีอันตรายในการเก็บรักษาในโรงพักสินค้าดังกล่าว
(3.3) การนำสินค้าอันตรายออกไปจากเขตศุลกากร
สินค้าอันตรายต้องนำออกจากเขตศุลกากรภายใน 5 วันสำหรับของที่ทำใบขนสินค้าขนถ่ายข้างลำ (OVERSIDE) และภายใน 7 วันสำหรับกรณีอื่น นับแต่สินค้าอันตรายอยู่ในอารักขาของศุลกากร ถ้าพ้นกำหนดแล้วสินค้าอันตรายนั้นก็จะตกเป็นของตกค้าง โดยผลของบทบัญญัติมาตรา 61 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ซึ่งได้บัญญัติขึ้นโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 14) .. 2534 มาตรา 4


สงวนลิขสิทธิ์
โดย ดร.สงบ สิทธิเ้ดช
Dr.Sangob Sittidech
10.02.2555

สารบัญรวมบทความทั้งหมด

ที่ดินบ้านสวน 1 งาน ท่ามกลางธรรมชาติในโครงการโกลเด้นโฮมเชียงแสนฯ ผ่อนสบาย ๆ เดือนละหมื่นกว่าบาท 24 เดือน ได้เป็นเจ้าของทันที   สนใจติ...