ผ่อนสบาย ๆ เดือนละหมื่นกว่าบาท 24 เดือน ได้เป็นเจ้าของทันที สนใจติดต่อด่วน
การควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
(Export Control for Dual‐Use Product)
ในบทบาทของกรมศุลกากร
บรรยายวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรมลองบีชการ์เด้นแอนสปา จังหวัดชลบุรี ในเวลา ๑๔.๐๐-๑๔.๓๐น.
- ระบอบควบคุมการส่งออกระหว่างประเทศ เป็นการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ (ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 30 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น) มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction: WMD) และอาวุธตามแบบ (Conventional Weapons) และเพื่อป้องกันมิให้สินค้า เทคโนโลยีและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประโยชน์ได้สองทาง (dual-use goods) ที่อาจนำไปใช้ในการผลิตอาวุธ ถูกผลิตหรือถูกส่งผ่านไปอยู่ในมือของกลุ่มองค์กรผู้ก่อการร้าย หรือประเทศที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ (country of concern) อาทิ อิรัก อิหร่าน ลิเบีย และเกาหลีเหนือ
ระบอบควบคุมการส่งออกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. Wassenaar Arrangement (WA) ควบคุมวัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี ที่สามารถนำไปใช้ผลิตอาวุธตามแบบที่ร้ายแรง
(http://www.wassenaar.org/)
2. Missile Technology Control Regime (MTCR) ควบคุมวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีชั้นสูงที่ใช้ผลิตขีปนาวุธ
(http://www.mtcr.info/english/indess.html)
3. Nuclear Supplier Group (NSG) ควบคุมวัสดุนิวเคลียร์
(http://www.nsg-online.org/)
4. Australia Group (AG) ควบคุมสารเคมี สารชีวภาพ วัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพได้
(http://australiagroup.net/)
ประเทศสมาชิกระบอบควบคุมการส่งออกร่วมกันกำหนดรายการสินค้า dual-use และกำหนดมาตรการควบคุมสินค้าดังกล่าวอย่างเข้มงวดในเรื่องการออกใบอนุญาต (license) การรับรองการใช้หรือผู้ใช้ปลายทาง (end-use/end-users) การตรวจสอบปลายทางหลังการส่งออก (verification) และมาตรการสอบสวนและบทลงโทษ (investigation mechanism and penalties) ทั้งนี้รวมถึง การควบคุมการส่งผ่าน (transit) การถ่ายลำ (transshipment) และการส่งออกไปใหม่ (re-export) ด้วย โดยจะเน้นการนำมาตรการตรวจสอบคอนเทนเนอร์ (Container Security Initiative: CSI) และมาตรการ catch all control ซึ่งจะควบคุมสินค้า dual-use ทุกชนิดที่จะส่งไปยังกลุ่ม country of concern มาใช้อย่างเข้มงวดด้วย
- ระบอบการควบคุมส่งออกในประเทศไทย สำหรับสินค้าหรือวัตถุที่เป็นอาวุธหรือสามารถนำไปใช้เป็นอาวุธ มีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
- กระทรวงกลาโหม
• พรบ. ควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์ และสิ่งที่ใช้ในการสงคราม พ.ศ. 2495
• พระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ในทางสงคราม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
1. อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ เครื่องยิงหรือฉายพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้
1.1 ประเภทอาวุธและเครื่องยิง ทิ้ง หรือปล่อย และอุปกรณ์
1.2 ประเภทกระสุน วัตถุระเบิด ส่วนประกอบและอุปกรณ์
1.3 ประเภทยานพาหนะทางน้ำ ทางบก และทางอากาศที่ใช้ในกิจการทางทหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้
2. สารเคมีที่ใช้ในการสงครามเคมี (17 รายการ)
3. สารเคมี และสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิด (177 รายการ)
4. วัตถุระเบิด (55 รายการ) - กระทรวงอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
• สารเคมีที่เป็นพิษ
• สารตั้งต้น - กระทรวงสาธารณสุข
พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525
• เชื้อโรคในคนและสัตว์
• เชื้อโรคที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาวุธชีวภาพได้ - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพ.ศ. 2504
• ยูเรเนียม
• ธอเรียม
• พลูโตเนียม
• วัสดุกัมมันตภาพรังสี - กระทรวงพาณิชย์
พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522
ควบคุมการส่งออกสินค้าที่สามารถใช้ประโยชน์ได้สองทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายการสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (มติ ครม. ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2553) - มติ ครม. 20 กรกฎาคม 2553 เรื่อง การบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง เห็นชอบให้ประเทศไทยมีระบบบริหารการนำเข้า - ส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (สินค้า และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งทางพาณิชย์ หรือทางสงคราม) และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำระบบบริหารการนำเข้า - ส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง โดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และจัดทำบัญชีรายการสินค้าที่ใช้ได้สองทาง โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้คำนึงถึงถึงความจำเป็นเหมาะสมในการกำหนดระบบมาตรฐานสากลทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุนของประเทศ
- ม.40 ก่อนที่จะนำของใด ๆ ไปจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำของเข้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน…
ม.45 ก่อนที่จะส่งของใด ๆ ออกนอกราชอาณาจักร ผู้ส่งของออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน… - ม.27 ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามก็ดี หรือส่ง หรือพาของเช่นว่านี้ออกไปนอกพระราชอาณาจักรก็ดี …สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
หมายเหตุ: ของต้องห้าม คือ ของที่มีข้อห้ามแน่นอนซึ่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้า ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนของต้องกำกัด คือ ของที่จำเป็นจะต้องทำการขออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนที่จะมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า
- การดำเนินการของกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับ มาตรการ/โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสินค้า (Protect cargo) ของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
- กับสหรัฐฯ (หลัง 09.11.2001)
1. โครงการความปลอดภัยตู้สินค้า (Container Security Initiative: CSI) เริ่มปี 2003
2. กฎการแจ้งข้อมูลล่วงหน้า (24-hour Rule) เริ่มปี 2003
3. มาตรการความเป็นหุ้นส่วนระหว่างการค้าและศุลกากรเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (Customs – Trade Partnership Against Terrorism: C-TPAT) เริ่มปี 2001
4. โครงการตรวจสอบรังสีจากตู้สินค้า (Magaports – Initiative) เริ่มปี 2007 สนับสนุน CSI - กับองค์การศุลกากรโลก (WCO)
5. โครงการ Authorized Economic Operator (AEO) เริ่มปี 2009
องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization : WCO) ได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกทางการค้าโลก (Framework of Standards to Secure and Facilitate Global Trade : SAFE) หนึ่งในหลักการสำคัญ คือ ความร่วมมือกันระหว่างศุลกากรและผู้ประกอบการของแต่ละประเทศเพื่อสร้างความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อุปทานของการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดย WCO ได้กำหนดโครงการ Authorized Economic Operator (AEO) ขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นการรับรองผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานว่ามีการดำเนินงานที่ปลอดภัย ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทน ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวม คนกลาง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ผู้ประกอบกิจการท่ารถ คลังสินค้า ผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น
- หลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เป็นต้นมา ทั่วโลกตระหนักถึง
ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยองค์การศุลกากรโลก (World
Customs Organization : WCO) ได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกทางการค้าโลก (Framework of Standards to Secure and Facilitate Global Trade : SAFE) ซึ่งหนึ่งในหลักการสำคัญ คือ ความร่วมมือกันระหว่างศุลกากรและผู้ประกอบการของแต่ละประเทศเพื่อสร้างความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อุปทานของการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดย WCO ได้กำหนดโครงการ Authorized Economic Operator (AEO) ขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นการรับรองผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานว่ามีการดำเนินงานที่ปลอดภัย ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทน ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวม คนกลาง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ผู้ประกอบกิจการท่ารถ คลังสินค้า ผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น
ปัจจุบันหลายประเทศดำเนินโครงการดังกล่าวภายใต้ชื่อที่แตกต่างกัน อาทิ
- โครงการ Customs-Trade Partnership against Terrorism (C-TPAT) ของสหรัฐฯ
- โครงการ Secure Export Scheme ของนิวซีแลนด์ และ
- โครงการ Secure Trade Partnership ของสิงคโปร์
- โครงการ Authorized Economic Operator (AEO) ของสหภาพยุโรป (European Union : EU) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 เริ่มดำเนินโครงการตามแนวทางของ WCO และใช้ชื่อเดียวกัน โดยจะให้การรับรองแก่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของการนำเข้าและส่งออกสินค้าใน EU ที่ผ่านการตรวจสอบข้อมูล 5 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ข้อมูลด้านศุลกากร ข้อมูลและกระบวนการด้านโลจิสติกส์และการบัญชี ความสามารถในการชำระหนี้ และข้อกำหนดด้านความปลอดภัย อาทิ การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ระบบการรักษาความปลอดภัยของอาคารและโรงงาน และมาตรการเกี่ยวกับการอนุญาตเข้าสู่พื้นที่บรรจุสินค้า เป็นต้น
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการซึ่งได้รับการรับรอง AEO ของ EU ได้รับ ได้แก่
• คะแนนความเสี่ยงต่ำ (Lower Risk Score) ทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จากการถูกตรวจสอบสินค้าและเอกสารน้อยลง เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากศุลกากรของประเทศสมาชิก EU
• การนำสินค้าผ่านแดนรวดเร็วขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการซึ่งเป็น AEO จะได้รับการพิจารณาขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธีการศุลกากร โดยเฉพาะการตรวจสอบสินค้า ในประเทศสมาชิก EU ก่อนผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็น AEO
• ความน่าเชื่อในฐานะที่เป็นบริษัทซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานที่ปลอดภัย ช่วยเพิ่มโอกาสและ
ศักยภาพในการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน
• การแลกเปลี่ยนสิทธิด้านศุลกากร (Mutual Recognition) จากประเทศที่นำระบบ AEO ภายใต้กรอบของ WCO มาใช้ โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรอง AEO ของ EU จะได้รับการยอมรับสถานะและได้สิทธิประโยชน์ด้านศุลกากรกับประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ระบบดังกล่าว เช่น การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ขั้นตอนการตรวจสอบและเอกสารที่ลดน้อยลง ทั้งนี้ ปัจจุบันสหรัฐฯ และนิวซีแลนด์ มีการแลกเปลี่ยนสิทธิด้านศุลกากรระหว่างกันแล้ว ขณะที่ EU และสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียดและความเป็นไปได้ของการแลกเปลี่ยน
เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อบริษัทที่ได้รับการรับรองเป็น AEO ของ EU ตรวจสอบได้จาก http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds/cgi-bin/aeoaeoquery?Lang=EN
- กรมศุลกากร ได้ออกประกาศกรมฯ ที่ 84/2552 โครงการนำร่องในการขอรับสถานะภาพเป็นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาต (Authorized Economic Operator: AEOs)
สิทธิพิเศษ
1. ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงต่ำซึ่งช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการ
2. ลดการตรวจทางกายภาพเนื่องจากมีความเสี่ยงลดน้อยลง
3. หากสินค้าจะต้องถูกตรวจทางกายภาพ ผู้ประกอบการที่มีสถานะภาพ AEO จะได้รับการอำนวยความสะดวกโดยได้รับการตรวจในลำดับแรก
4. ในกรณีส่งสินค้าออก ผู้ประกอบการที่มีสถานะภาพ AEO จะได้รับการยอมรับจากศุลกากรต่างประเทศที่จะมีการทำความตกลงกับกรมศุลกากรในอนาคต ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการตรวจปล่อยสินค้านั้นเมื่อเดินทางไปถึงต่างประเทศ
5. สิทธิพิเศษอื่นๆ อันจะพึงมีในอนาคตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ผู้ประกอบการที่สนใจและประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ สามารถสอบถามรายละเอียดและยื่นใบสมัครได้ที่ ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร (www.customs.go.th/AEO/Inf_AEO.pdf)
- 1. ตรวจสอบก่อนการส่งออกว่าสินค้านั้นอยู่ในข่ายการควบคุมการส่งออกตามกฎหมายหรือไม่
2. หากอยู่ในข่ายการควบคุมการส่งออกจะต้องดำเนินการดังนี้
2.1 ขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการส่งออก
2.2 ขณะส่งออก (สินค้าผ่านสถานีตรวจสอบแล้ว) ต้องคอยตรวจดูว่าสินค้านั้นติดโฟรไฟล์ให้เปิดตรวจหรือไม่
2.3 หลังการส่งออกแล้วจะต้องนำเอกสารการอนุญาต ยื่นต่อหน่วยควบคุมทางศุลกากรของท่า หรือที่ หรือสนามบิน สุดท้ายที่ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 15 วัน นับแต่วันตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า (รถผ่านสถานีตรวจสอบ) หากยื่นหลังเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิจารณาความผิดกรณีไม่ยื่นเอกสารในรูปแบบเอกสารในเวลาอันควร (ประกาศกรมฯ 116/2549 ข้อ 53(1))
- ข้อ 53 ให้ผู้นำของออกดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรให้ครบถ้วนก่อนการตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า ณ สถานีรับบรรทุก หรือจุดรับบรรทุกที่กำหนด
(1) กรณีใบขนสินค้าขาออกที่มีคำสั่งยกเว้นการตรวจ
(1.1) กรณีสามารถดำเนินกระบวนการทางศุลกากรโดยระบบการให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวได้ และหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายในการควบคุมการนำเข้าได้ส่งผ่านข้อมูลการอนุมัติ/อนุญาตเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรโดยผ่านระบบการให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว แล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะทำการบันทึกผลการปล่อยของและข้อมูลเลขที่การอนุมัติ/อนุญาตไว้ โดยผู้ส่งของออกไม่ต้องยื่นเอกสารในรูปเอกสารให้ศุลกากรอีก
(1.2) กรณีไม่สามารถดำเนินกระบวนการทางศุลกากรโดยระบบการให้บริการเบ็ดเสร็จ
ณ จุดเดียวได้
(1.2.1) กรณีการอนุมัติ/อนุญาตให้กับของที่ส่งออกตามบัญชีราคาสินค้าที่ส่งออกเป็นรายครั้ง ให้ผู้ส่งของออกนำเอกสารในรูปแบบเอกสาร เช่น เอกสารแสดงการได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ, ใบอนุญาต/ใบทะเบียน/หนังสืออนุญาตตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยื่นต่อหน่วยควบคุมทางศุลกากรของท่า หรือที่ หรือสนามบิน สุดท้ายที่ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 15 วัน นับแต่วันตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า
(1.2.2) กรณีการอนุมัติ/อนุญาตให้กับของที่ส่งออกตามปริมาณที่กำหนดไว้หรือเป็นรายงวด/รายปี หรือตามใบขนสินค้าขาออกมากกว่า 1 ฉบับ
(1.2.2.1) ให้ผู้ส่งออกยื่นเอกสารในรูปเอกสาร ณ จุดรับรองใบขนสินค้าขาออกของท่า หรือที่ หรือสนามบินสุดท้ายที่ได้ทำการส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร ภายใน 15 วัน นับแต่วันตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า
(1.2.2.2) เพื่อให้เจ้าหน้าที่หน่วยบริการศุลกากรตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรกับเอกสารในรูปเอกสารดังกล่าว และรับรองปริมาณการส่งออกตามใบขนสินค้าขาออกไว้ในเอกสารดังกล่าว พร้อมลงชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้ด้วย
(1.2.2.3) กรณีใบอนุญาตที่เป็นการตัดงวดสุดท้ายให้หน่วยบริการศุลกากรจัดส่งให้หน่วยงานเจ้าของใบอนุญาตต่อไป
(1.2.2.4) ให้ผู้ส่งของออกจัดทำสำเนาเอกสารที่รับรองปริมาณการส่งออกแล้วพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ยื่นต่อหน่วยควบคุมทางศุลกากรทุกครั้งที่มีการส่งของออก
(1.3) กรณียื่นเอกสารในรูปแบบเอกสารต่อหน่วยควบคุมทางศุลกากรภายหลัง 15 วัน นับแต่วันตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิจารณาความผิดกรณีไม่ยื่นเอกสารในรูปแบบเอกสารในเวลาอันควร
(1.4) ให้หน่วยงานควบคุมทางศุลกากร เป็นผู้รวบรวมใบอนุญาต หรือใบรับรองการส่งออก หรือเอกสารอื่นใดที่ได้รับอนุมัติ อนุญาต หรือดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร เพื่อจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบภายหลังการตรวจปล่อยต่อไป
ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
ปรับปรุง 5/6/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น